เรียนรู้การทาตัวเรือนเบื้องต้น (DIAMOND SETTING)
การฝังอัญมณีในตัวเรือนเป็นขั้นตอนหนึ่งของการทาเครื่องประดับ โดยลักษณะการฝังอัญมณีมีหลายแบบด้วยกัน ซึ่งการฝังแต่ละแบบทำให้เครื่องประดับนั้นมีสไตล์และมีดีไซน์ที่แตกต่างกันไป สำหรับจุดประสงค์ของการฝังอัญมณี คือ ทาให้อัญมณียึดติดกับตัวเรือนโลหะ
สำหรับวิธีการฝังอัญมณีในตัวเรือนนั้นมีหลากหลายรูปแบบ ดังนี้
1. การฝังแบบหนามเตย (PRONG SETTING) การฝังแบบหนามเตยเป็นการฝังที่ได้รับความนิยมมาก มีลักษณะเป็นก้านต่ออยู่กับกระเปาะที่ประคอง อัญมณีไว้ ส่วนปลายของหนามเตยแต่ละอันจะโค้งเข้าหากันและเกาะติดกับขอบของอัญมณี จำนวนขาของหนามเตยที่นิยมมักมี 3 ขา 4 ขาและ 6 ขา นอกจากหนามเตยแบบกลมแล้วยังมีหนามเตยแบบสามเหลี่ยมหรือแบบหัวเรือ สำหรับฝังอัญมณีที่มีรูปร่างที่มีมุม เช่น มาคีส์ หยดน้ำและสี่เหลี่ยม เป็นต้น
2. การฝังหุ้ม (BAZEL SETTING) การฝังหุ้มเป็นการใช้เนื้อโลหะที่อยู่สูงกว่าขอบอัญมณีฝังหุ้มขอบอัญมณีไว้โดยรอบ
3. การฝังล็อคหรือฝังสอด (CHANNEL SETTING) การฝังสอดเป็นการฝังแบบเป็นแถว อัญมณีจะเรียงกันเป็นแนวยาวไม่มีโลหะกั้นระหว่างอัญมณี
แต่จะมีขอบของโลหะที่ขนานกันเป็นตัวล็อคอัญมณีไว้
4. การฝังแบบจิกไข่ปลา (PAVE SETTING) การฝังแบบจิกไข่ปลาจะใช้อัญมณีขนาดเล็กฝังเรียงกันเป็นแถบ อัญมณีแต่ละเม็ดจะถูกยึดโดยมีการตักเนื้อโลหะที่อยู่รอบๆอัญมณี ปั่นเป็นก้อนกลมเหมือนไข่ปลาและยึดกับตัวอัญมณีเอาไว้ ปกติไข่ปลาจะมี 4 เม็ด แต่อาจมีมากกว่าหรือน้อยกว่าได้
5. การฝังเหียบหน้า หรือ การฝังจม (FLUSH SETTING)การฝังแบบเหียบหน้าหรือการฝังจมเป็นการฝังคล้ายการฝังหุ้ม แต่เป็นการฝังจมลงไปในเนื้อโลหะไม่เห็นกระเปาะของตัวเรือน อัญมณีจะถูกฝังลงไปในรูที่มีขนาดเท่ากับอัญมณีและถูกล็อคด้วยเนื้อโลหะรอบๆ หน้าอัญมณีจะเสมอกับตัวเรือน
6. การฝังหนีบ (TENSION SETTING)การฝังแบบหนีบจะใช้แรงดันจากโลหะทั้ง 2 ด้านในการยึดอัญมณีเอาไว้ โดยมีร่องเล็กๆยึดอยู่กับขอบของอัญมณี ดังนั้นโลหะที่ใช้ควรมีความแข็ง การฝังแบบหนีบนิยมฝังกับโลหะแพลตินั่ม
7. การฝังไร้หนาม (INVISIBLE SETTING) การฝังแบบไร้หนามมักใช้อัญมณีที่มีรูปร่างสี่เหลี่ยม ตัวเรือนมีลักษณะเหมือนตาข่ายไว้รองรับอัญมณี
แต่ละเม็ดและมีโลหะคล้ายใบมีดเป็นตัวล็อคอัญมณี ลักษณะการฝังดูเหมือนตารางและไม่เห็นโลหะระหว่างขอบอัญมณี